สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลกุฎี อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอผักไห่ประมาณ ๖ กิโลเมตร ตามถนนสายผักไห่ – บางบาล รายละเอียดตามแผนที่
ทิศเหนือ | จด ตำบลบ้านแคและตำบลลาดน้ำเค็ม | อำเภอผักไห่ | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ทิศใต้ | จด ตำบลบ้านกระทุ่ม | อำเภอเสนา | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ทิศตะวันออก | จด ตำบลบางหลวงตำบลบางหัก | อำเภอบางบาล | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ทิศตะวันตก | จด ตำบลบ้านใหญ่และตำบลท่าดินแดง | อำเภอผักไห่ | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี มีเนื้อที่ ๑๕.๗๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙,๘๔๖.๘๗๕ ไร่
ตำบลกุฎีอยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น ๑๒ หมู่บ้าน
โดยมีชื่อเรียกตามสภาพบ้านดังนี้
หมู่ที่ ๑ บ้านหนองแขยง | หมู่ที่ ๗ บ้านปากคลองโพธิ์ |
หมู่ที่ ๒ บ้านฤาไชย | หมู่ที่ ๘ บ้านเกาะนก |
หมู่ที่ ๓ บ้านฤาไชย | หมู่ที่ ๙ บ้านบางหน้าไม้ |
หมู่ที่ ๔ บ้านฤาไชย | หมู่ที่ ๑๐ บ้านกุฎี |
หมู่ที่ ๕ บ้านฤาไชย | หมู่ที่ ๑๑ บ้านกุฎี |
หมู่ที่ ๖ บ้านลาว | หมู่ที่ ๑๒ บ้านปากคลองกุฎี |
ลักษณะภูมิประเทศ
มีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขาหรือป่าไม้ โดยมีคลองกุฎีไหลผ่านซึ่งแยกมาจากแม่น้ำน้อยที่บางกุ้ง อำเภอผักไห่ และไปบรรจบกับแม่น้ำน้อยที่ตำบลกุฎีและตำบลท่าดินแดงราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการทำนา โดยมีพื้นที่ทำนาถึง ๘๗ % ของพื้นที่ทั้งหมด
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี ตั้งอยู่บริเวณภาคกลาง จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง ทำให้มีฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับฤดูกาลนั้นคล้ายคลึงกับจังหวัด อื่น ๆ ในภาคกลาง
ทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำน้อยไหลผ่านตำบลกุฎี ไปสู่อำเภอผักไห่
ลักษณะทางสังคม
จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร
จำนวนประชากรในองค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี มีจำนวนทั้งสิ้น 2,371 คน จำแนกเป็นเพศ
ชาย 1,146 คน และเพศหญิง 1,225 คน และมีความหนาแน่นประชากรเท่ากับ 150 คน ต่อตารางกิโลเมตร
หมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | ครัวเรือน | ผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ ๑ บ้านหนองแขยง | 369 | 383 | 752 | 213 | นายพัลลภ เพ็ชรฤทธิ์ |
หมู่ที่ ๒ บ้านฤาไชย | 78 | 90 | 168 | 47 | นางศรีนวล บรรดาศักดิ์ |
หมู่ที่ ๓ บ้านฤาไชย | 48 | 47 | 95 | 52 | นางอุดม วาริชา |
หมู่ที่ ๔ บ้านฤาไชย | 71 | 59 | 130 | 50 | นายไพโรจน์ ชมจำปี |
หมู่ที่ ๕ บ้านฤาไชย | 86 | 83 | 169 | 61 | นายไฉน แป้นปราณีต |
หมู่ที่ ๖ บ้านลาว | 51 | 59 | 100 | 31 | นางสาวสมพิศ ฝากพร |
หมู่ที่ ๗ บ้านปากคลองโพธิ์ | 51 | 70 | 121 | 35 | นางบุญทวี สุภสิทธิ์ |
หมู่ที่ ๘ บ้านเกาะนก | 59 | 87 | 146 | 41 | นายเป๋า สุคะ |
หมู่ที่ ๙ บ้านบางหน้าไม้ | 87 | 83 | 170 | 43 | นายพีระ บำเรอจิต |
หมู่ที่ ๑๐ บ้านกุฎี | 74 | 99 | 173 | 56 | นายไพบูลย์ จันตะ |
หมู่ที่ ๑๑ บ้านกุฎี | 83 | 92 | 175 | 57 | นางสาวพัชรี กุฎีศร |
หมู่ที่ ๑๒ บ้านปากคลองกุฎี | 89 | 83 | 172 | 55 | นายไพบูลย์ แจ่มศักดิ์ (กำนัน) |
ระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปโภค
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมในองค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี เป็นประเภท การคมนาคมขนส่งทางบก โดยรถโดยสารประจำทางไปที่สถานีขนส่ง อำเภอผักไห่ กับใช้รถยนต์ส่วนตัว รถรับจ้าง
ระบบไฟฟ้าระบบประปา
มีประปาหมู่บ้าน ทั้ง ๑๒ หมู่บ้าน
การสื่อสาร
มีเสียงตามสายครบทุกหมู่บ้าน มีโทรศัพท์สาธารณะ ๑๒ แห่ง
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง
โรงเรียนวัดฤาไชย สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สปช. เดิม )
มีครูทั้งหมด ๖ คน แยกเป็น ครูชาย ๑ คน ครูหญิง ๕ คน
มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๘๗ คน
โรงเรียนวัดโคกทอง(บวรวิทยา)สังกัดคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สปช.เดิม)
มีครูทั้งหมด ๑๕ คน แยกเป็น ครูชาย ๒ คน ครูหญิง ๑๓ คน
มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๒๓๕ คน
การศึกษานอกระบบ
มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ แห่ง
มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ๒ แห่ง
มีศูนย์การเรียนการสอนของ กศน. ๑ แห่ง
การสาธารณสุข
มีสถานที่อนามัยตำบล ๑ แห่ง จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด ๓ คน แยกเป็น ชาย ๒ คน หญิง ๑ คน
การใช้ที่ดินและการถือครองที่ดิน
มีการทำนาปลูกข้าวนาปี และข้าวนาปรัง
ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์
มีผลิตภัณฑ์ผ้าเอนกประสงค์
การเมืองการปกครอง
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การท่องเที่ยว
มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ ๑.วัดโคกทอง นมัสการหลวงพ่อเชิญวัดโคกทอง
๒.วัดฤาไชย ชมพระพุทธรูปหินศิลาแลง